เช้าวันที่สาม เริ่มภารกิจสนามบอลหญ้าเทียมอีกครั้ง
เสียงเครื่องยนต์กระบะยังคงดังกระหึ่มในทุกเช้า วันนี้ทีมของเรามีสมาชิกเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งคน "คัง" เด็กใหม่ที่เพิ่งเข้ามาเสริมทัพ ช่วยแบ่งเบาภาระงานได้ดีขึ้น ทุกคนมาถึงสนามพร้อมอุปกรณ์ครบมือ ตั้งแต่ เครื่องเป่าใบไม้ รถโรยทราย เครื่องแปรงหญ้า และถุงลูกยางที่เตรียมไว้สำหรับช่วงบ่าย
พอรถเลี้ยวเข้าสู่สนามบอลหญ้าเทียม ภาพแรกที่เห็นคือ ใบไม้แห้งที่ปลิวมาตกกระจายเต็มพื้นสนาม หญ้าเทียมที่เราเพิ่งแปรงและโรยทรายไปเมื่อวาน ดูเหมือนถูกพรางไปด้วยพรมใบไม้สีทองจากต้นไม้รอบสนาม
"เมื่อคืนลมแรงใช่เล่นนะเนี่ย!" พี่แป๊ะพูดขึ้นขณะลงจากรถ
"งานแรกของวันนี้ เป่าใบไม้ออกจากสนามก่อน!" หัวหน้าออดประกาศภารกิจแรกของวัน
ทีมงานช่างแยกย้ายกัน ถือเครื่องเป่าใบไม้ ไล่เป่าจากกลางสนามออกไปยังขอบสนาม เทคนิคคือเป่าให้ใบไม้ไปรวมกันเป็นกองตามแนวรั้วสนาม จะได้เก็บกวาดง่ายขึ้น
"อย่าเป่าต้านลมนะ ไม่งั้นเดี๋ยวใบไม้ปลิวกลับมาเหมือนเดิม!" หัวหน้าออดตะโกนบอก
ผมจับเครื่องเป่าไล่เป่าไปตามเส้นขอบสนาม ลมแรงจากเครื่องช่วยพัดใบไม้ออกไปเป็นแนว แต่บางจุดที่ใบไม้ติดอยู่ในเส้นหญ้าเทียม ต้องใช้มุมลมและแรงเป่าที่พอเหมาะเพื่อดันมันออกมาให้หมด
"เป่ารอบเดียวไม่อยู่ ต้องเดินย้อนเช็กอีกรอบ!" พี่แป๊ะพูดขณะไล่เป่าซ้ำในบางจุด
หลังจากเป่าใบไม้ออกไปหมดแล้ว สนามดูโล่งขึ้น แต่ก่อนจะไปขั้นตอนโรยทรายเพิ่มเติม ทีมงานช่างต้องเดินเก็บเศษหินที่ปะปนมากับทรายที่โรยไว้ก่อนหน้านี้
"เช้านี้ใครเท้าชั่งทอง ก็ระวังสะดุดหินด้วยล่ะ!" พี่แป๊ะพูดติดตลกขณะเดินตรวจสอบพื้นสนาม
หญ้าเทียมอาจดูเรียบเนียนจากด้านบน แต่ถ้าก้มลงดูใกล้ ๆ จะเห็นว่ามีเศษหินขนาดเล็กปะปนอยู่ตามพื้น บางก้อนเป็นก้อนกรวดที่ติดมากับทรายตอนขนส่ง ถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจเป็นอุปสรรคต่อการเล่นฟุตบอลได้
ทีมงานช่างแยกย้ายกันเดินก้ม ๆ เงย ๆ ใช้มือเก็บเศษหินออกจากพื้นสนามทีละจุด บางจุดที่มีหินเยอะ ต้องใช้ถังช่วยเก็บให้รวดเร็วขึ้น
"ตรงนี้มีเยอะเลยว่ะ ใครเอาทรายมาลงตรงนี้เมื่อคืน?" คัง เด็กใหม่ที่เพิ่งเข้ามาเสริมทีม พูดขึ้นขณะหยิบก้อนหินออกจากพื้น"บางทีตอนขนส่งมา มันก็ติดมาเอง เราต้องเช็กให้ชัวร์ก่อนโรยลูกยาง"หัวหน้าออดตอบ เศษหินทุกก้อนที่เจอถูกเก็บใส่ถังและนำไปทิ้งให้พ้นจากพื้นที่สนาม เมื่อแน่ใจแล้วว่าพื้นสนามสะอาด ไม่มีหินตกค้าง ก็พร้อมเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป "เติมทรายในจุดที่ยังไม่แน่น"
หลังจากที่ทีมช่างช่วยกันเดินเก็บเศษหินจนมั่นใจว่าพื้นสนามโล่งสะอาด ก็ถึงขั้นตอนสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ เติมทรายในจุดที่ยังตรงที่มีปลายหญ้าเทียมยังยาวอยู่
"ลองเดินสำรวจดู ตรงไหนที่ปลายหญ้ายาวๆ แสดงว่าทรายไม่พอ" หัวหน้าออดพูดขึ้นขณะใช้เท้ากดทดสอบพื้นสนาม
พี่แป๊ะเดินลากไม้กวาดแข็งตามแนวสนาม ไล่เกลี่ยดูว่ามีจุดไหนที่ทรายยังไม่แน่นพอ บางจุดที่ใช้งานหนักอย่างหน้าประตู และกลางสนามมักจะต้องเติมเพิ่ม เพราะเป็นพื้นที่ที่มีแรงกดทับมากที่สุด
"ตรงนี้ปลายหญ้าเทียมยังยาวไป เดี๋ยวเราเติมอีกหน่อย" คังที่ตอนแรกเงียบ ๆ เริ่มจับจังหวะงานได้ เดินหยิบพลั่วมาตักทรายจากกองแล้วสาดทรายลงจุดที่ขาด
ขั้นตอนการเติมทราย
- ใช้พลั่วตักทรายจากกองที่เตรียมไว
- สาดทรายลงในบริเวณที่ปลายหญ้าเทียมยังยาว อยู่หรือทรายไม่แน่นพอ
- กระจายทรายให้สม่ำเสมอ ไม่ให้กองเป็นหย่อม ๆ
- ใช้ไม้กวาดแข็งช่วยเกลี่ยให้เรียบ
"ถ้าทรายกองเป็นหย่อม มันจะทำให้สนามเป็นหลุมเป็นบ่อ" หัวหน้าออดย้ำเตือน เพราะถ้าสาดแบบไม่สม่ำเสมอ พอใช้งานไปนาน ๆ สนามจะมีจุดที่สูงต่ำไม่เท่ากัน เมื่อเติมทรายเรียบร้อยแล้ว
ทีมงานช่างก็ใช้เครื่องแปรงหญ้าไล่ปรับสภาพพื้นสนามอีกรอบ เพื่อให้ทรายแทรกซึมลงไปถึงโคนหญ้าและล็อกเส้นหญ้าให้ตั้งตัว
"โอเค ตรงนี้พอละปลายหญ้าไม่ยาวแล้ว!" ผมลองเดินสำรวจดู แล้วรู้สึกได้เลยว่าพื้นสนามแน่นขึ้น ปลายหญ้าเทียมไม่ยาวเหมือนตอนแรก ขั้นตอนนี้แม้จะใช้เวลาไม่นาน แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำให้ละเอียด เพราะถ้าพื้นสนามไม่แน่นพอ ต่อให้โรยลูกยางลงไป มันก็จะไม่สมดุล เมื่อแน่ใจว่าทรายทั่วทั้งสนามกระจายตัวได้ดีและแน่นพอแล้ว ก็ถึงเวลาของไฮไลต์ของวันนี้ "เตรียมลูกยางและเทลงเครื่องโรย"
หลังจากเช็กพื้นสนามจนแน่ใจว่าทรายแน่นพอแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายของวันนี้ “เตรียมลูกยางและเทลงรถโรย” ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้สนามหญ้าเทียมได้สัมผัสที่สมจริงและลดแรงกระแทกขณะใช้งาน พอเดินเก็บเครื่องมือกันเสร็จ หัวหน้าออดก็หันมามองถุงลูกยางสีขาวที่เรียงกันอยู่ข้างสนาม “ได้เวลาโรยลูกยางแล้วว่ะ”
เริ่มจากการขนถุงลูกยางมาเรียงให้พร้อม ทีมงานช่างช่วยกันยกถุงลูกยางจากกองมากองรวมกันให้เป็นระเบียบ ถุงละประมาณ 25 กิโลกรัม ยกกันจนเหงื่อซึม“ยกคนเดียวไหล่แทบหลุด” คังที่เพิ่งเข้ามาช่วยวันแรกแซวตัวเองไปพลาง ฮึบ ๆ ยกถุงวางเรียงไว้ใกล้รถโรยลูกยาง
เปิดถุงลูกยาง เตรียมเทลงเครื่องโรย เมื่อจัดถุงเรียบร้อยแล้ว ผมหยิบคัตเตอร์มาตัดตรงเชือกปากถุง แล้วค่อย ๆ ดึงเชือกออก ถุงลูกยางที่ปิดสนิทก็เปิดออก เผยให้เห็นเม็ดยางสีดำสนิทข้างใน
“อันนี้คือเม็ดยางจากยางรีไซเคิล เป็นวัสดุหลักที่ช่วยให้สนามนุ่มขึ้น ลดแรงกระแทก” พี่แป๊ะอธิบายพร้อมโชว์เม็ดยางในมือให้ดู จากนั้นทีมงานช่างช่วยกันเทเม็ดยางลงรถโรยลูกยาง ค่อย ๆ เทลงไปอย่างระมัดระวัง ไม่ให้หกเลอะสนาม เม็ดยางสีดำค่อย ๆ ไหลลงไปในกระบะสีเขียวของรถโรย
เช็กปริมาณให้พอดี “อย่าเพิ่งเทหมด เดี๋ยวเราจะโรยเป็นรอบ ๆ” หัวหน้าออดสั่ง ทุกคนพยักหน้ารับ เพราะถ้าเทหมดแล้วโรยหนาเกินไป จะทำให้สนามไม่สมดุล ต้องค่อย ๆ โรยและเกลี่ยให้ทั่วถึง
พอเตรียมลูกยางเสร็จเรียบร้อย รถโรยลูกยางก็พร้อมทำงาน สนามหญ้าเทียมที่ผ่านการโรยทรายและแปรงหญ้ามาแล้ว กำลังจะเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายของวันนี้ "โรยลูกยาง" ซึ่งเป็นการเก็บงานเพื่อให้สนามพร้อมใช้งานอย่างสมบูรณ์แบบ!
การโรยลูกยางบนสนามหญ้าเทียมเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวัน หลังจากที่ทีมงานช่างจัดการกับทรายและเก็บรายละเอียดในสนามเรียบร้อยแล้ว เราก็มาถึงช่วงที่ต้องเติมเต็มความสมบูรณ์ของพื้นสนามให้พร้อมสำหรับการใช้งานจริง
การโรยลูกยางช่วยให้สนามมีความยืดหยุ่น รองรับแรงกระแทกจากการเล่น และช่วยให้เส้นหญ้าตั้งตัวได้ดีขึ้น มันเป็นเหมือน "ชั้นกันกระแทก" ที่ช่วยให้พื้นสนามนุ่มขึ้น ลดความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บของนักกีฬา
ขั้นตอนการโรยลูกยาง
1. เตรียมลูกยางให้พร้อม ทีมงานช่างช่วยกันยกถุงลูกยางที่บรรจุอยู่ในถุงสีขาวมาวางเรียงกันที่ข้างสนาม ก่อนใช้คัตเตอร์ตัดเชือกเปิดปากถุง จากนั้นค่อย ๆ เทลูกยางใส่รถโรยลูกยาง
2. ใช้รถโรยลูกยางขับกระจายทั่วสนาม รถโรยลูกยางจะทำหน้าที่โรยลูกยางให้กระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งสนาม โดยต้องขับเป็นแนวตรงไปกลับ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกจุดมีลูกยางพอดี ไม่หนาไปหรือน้อยไป
3. ตรวจสอบความหนาของชั้นลูกยาง หลังจากโรยรอบแรกเสร็จแล้ว ทีมงานจะเดินสำรวจสนามและตรวจสอบระดับความหนาของชั้นลูกยางว่ามีจุดไหนที่ยังบางไปหรือไม่ ถ้าพบว่าบางเกินไปก็ต้องเติมเพิ่ม
4. แปรงหญ้าอีกครั้งหลังโรยลูกยาง เมื่อโรยลูกยางครบตามจำนวนที่กำหนด ขั้นตอนสุดท้ายคือใช้เครื่องแปรงหญ้า ปัดลูกยางให้แทรกลงไปตามโคนหญ้า เพื่อให้สนามมีความแน่นและสม่ำเสมอ
การโรยลูกยางเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ความละเอียดและความชำนาญ เพราะหากโรยไม่ดี อาจทำให้สนามแข็งหรือนุ่มเกินไป ซึ่งมีผลต่อการเล่นบอลโดยตรง วันนี้เราทำงานกันอย่างเต็มที่เพื่อให้สนามออกมาสมบูรณ์แบบมากที่สุด
จบภารกิจของวัน ทีมงานทยอยเก็บอุปกรณ์ เตรียมตัวสำหรับงานต่อไปในวันพรุ่งนี้
0 ความคิดเห็น